ก่อสร้างและบริการต่อเนื่อง
ตุ้มทิ้งน้ำหนักฟรีแถบติดแถบ
รางวัลที่1 สาขาการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม
เอกสารประกอบ
โครงการพัฒนาสร้างหุ่นยนต์ช่วยงานก่อสร้างอัตโนมัติ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมก่อสร้างยังพึ่งพาแรงงานคนเป็นหลัก ควบคุมต้นทนุและเวลาการทํางานไม่ได้ จึงมี การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรโดยใช้โรบอทชนิดคานและระบบลําเลียงกระสวยปูนบนระบบรางไฟฟ้าเป็นระบบอัตโนมัติมาทดแทนแรงงานคน
นายปรีชา เต็มพร้อม ตําแหน่ง นายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย บริษัท สมาคมเครื่องจักรกลไทย โทรศัพท์ 02 712 2096 มือถือ 081-8479845 โทรสาร 02 712 2979 อีเมล thaimachinery@yahoo.com
นาย อนุชิต นาคกล่อม ตําแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท บรษิัท บริษัท เซ็นเซอร์นิกส์ จํากัด โทรศัพท์ 02-910-9536 มือถือ 062-425-4654 โทรสาร 02-910-9537 อีเมล์ anuchit@sensornic.com
อาคารที่จอดรถอัจฉริยะแบบจอดได้หลายคันชนิดขนย้ายและประกอบด้วยหน่วยแยก
อาคารที่จอดรถอัจฉริยะแบบจอดได้หลายคัน
Intelligent Car Parking
ที่จอดรถอัจฉริยะแบบจอดได้หลายคันชนิดขนย้ายและประกอบด้วยหน่วยแยก ออกแบบและสร้างด้วยโครงเหล็กเพื่อสะดวก – ง่ายในการรื้อถอน - ขนย้าย และติดตั้ง ประหยัดพื้นที่อาคารโดยใช้ระบบเครื่องกลในการยก - ย้ายรถยนต์ในแนวสูงและแนวราบ แทนการใช้ลู่ผิวทางจราจรในการนำรถยนต์เข้าประจำที่จอด ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขับวนหาที่ว่างเพื่อจอดรถยนต์ หรือนำรถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถ ปลอดภัยสำหรับทรัพย์สินและชีวิต เพราะไม่อนุญาตให้บุคคลใดต้องเดินเข้าไปในอาคาร ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ คีย์การ์ดหรือพนักงานควบคุมเท่านั้น พื้นที่ใช้งานของเครื่องจอดรถเล็กกว่าและงบการลงทุนประหยัดกว่าแบบอาคารจอดรถดั้งเดิม 3 – 4 เท่า ไม่กระทบต่อมลภาวะและสิ่งแวดล้อม
คุณสมบัติและสมรรถนะ
· อาคารจอดรถอัจฉริยะแบบจอดรถได้หลายคัน
2 – 5 ชั้น, แบบ 1 – 4 แถว ขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้ากว้าง หรือลึกตามตัวอย่างต้นแบบที่เสนอเป็นแบบจอดรถได้ 13 คัน มีความสูง 2 ชั้น และมีจำนวนแถวในแนวยาว 7 แถว
· การควบคุมการทำงานของกลไกทั้งหมดจะใช้ระบบควบคุมแบบอัจฉริยะ
· ใช้โครงสร้างเหล็กที่สามารถถอดประกอบได้ง่าย
ราคาเริ่มต้นที่ 220,000 บาทต่อที่จอด ขึ้นอยู่กับจำนวนที่จอด (ราคารวมโครงสร้างอาคารพื้นฐานแล้ว)
ตัวอย่าง 13 ที่จอด ราคา 3,100,000 บาท (ไม่รวมลานพื้นคอนกรีตเดิมและอุปกรณ์เสริม)
รางวัลเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ประจำปี 2559
รางวัลชนะเลิศ สาขาพลังงาน สิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิต
และรางวัลสุดยอดเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม 2559 (Best of the Best Technology Awards 2016)
การพัฒนาเทคโนโลยีภายใต้โครงการ วิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
พัฒนาโดย สมาคมเครื่องจักรกลไทย
โทรศัพท์ 0-2712-2096 โทรสาร 0-2712-2979
E-mail : thaimachinery2@gmail.com, Thaimachinery@yahoo.com
ร่วมกับ บริษัท คอนสโก เอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด
โทรศัพท์ 0-2726-6839 โทรสาร 0-2726-3147
E-mail : chukiat143@gmail.com
ระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง
โครงการพัฒนาสร้างระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง
ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
ระยะเวลาของโครงการ 12 เดือน
หัวหน้าโครงการ รศ. ดร. ธัญญะ เกียรติวัฒน์
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท คอนสโก เอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด
ระบบขับเคลื่อนสำหรับลิฟต์โดยสารที่นำเสนอในโครงการนี้ จะมีสองรูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Rack and Pinion ระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch และรูปแบบที่ 2 ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ sling ระบบเบรคแบบ friction (บีบจับที่ราง) ซึ่งการวิเคราะห์และออกแบบจะต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านการออกแบบเครื่องจักรกล (Machine Design) ร่วมกับการวิเคราะห์ทางด้านระบบพลศาสตร์เครื่องจักรกล (Kinematic and Kinematic of Machinery) ประสิทธิภาพของการเคลื่อนที่ อันประกอบไปด้วย Capacity (น้าหนักที่ยกได้) และความเร็วในการเคลื่อนที่ (Speed of Motion) จะถูกนำมาพิจารณาเพื่อหาจุด optimum ในการออกแบบระบบขับเคลื่อน ระบบความปลอดภัยจะต้องออกแบบให้ได้ตามหลักวิศวกรรม และมีความน่าเชื่อถือในการทำงาน เช่น ระบบปิด/เปิด ประตู (Door Mechanism) ระบบเบรคแบบ Frictionระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว (Speed Governor) และ อุปกรณ์รองรับการกระแทก (Buffer)
คุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะตามระบุในสัญญา
ลิฟต์สำหรับงานก่อสร้าง ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Rack and Pinion จำนวน 1ชุด
- ลิฟต์ขนาด 1.50 x 2.30 x 3.00 เมตร
- มีความเร็วในการเคลื่อนที่ ที่ค่าสูงสุดไม่ต่ากว่า 30 m/min
- ความสูง 30 เมตร
- ระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch
ลิฟต์สำหรับงานก่อสร้าง ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Sling จำนวน 1ชุด
- ลิฟต์ขนาด 1.50 x 2.30 x 3.00 เมตร
- มีความเร็วในการเคลื่อนที่ ที่ค่าสูงสุดไม่ต่ากว่า 40 m/min
- ความสูง 30 เมตร
- ระบบเบรคแบบ Friction (บีบจับที่ราง)
- โดยที่ลิฟต์ทั้งสองแบบ เคลื่อนที่อยู่บนแกน (Tower) เดียวกัน
ภาพที่ 4.1 แสดง ลักษณะตัวอย่าง Passenger Lift for Construction Works
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน)
เครื่องฉาบปูนในแนวดิ่ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ผู้ดำเนินโครงการ
บริษัท คอนสโก เอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด
ที่อยู่ 23/52 หมู่ 10 ซอยเฉลิมพระเกียรติ 41
ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงหนองบอน เขตประเวศ
กรุงเทพ ฯ 10250
Tel. 02-7266839
Fax. 02-7263147
อีเมล์ : chukiat143@gmail.com
Website : www.consco-crane.com
เอกสารประกอบ
เครื่องประกอบลวดหนามแบบอัตโนมัติ
เครื่องประกอบลวดหนามแบบอัตโนมัติ
ที่มาและความสำคัญ
การผลิตลวดหนามด้วยมือเป็นงานหัตถกรรมอย่างหนึ่งในชุมชนซึ่งต้องใช้เวลา และบุคลากรที่มีความชำนาญ รวมถึงต้องมีความระมัดระวังสูงเนื่องจากอาจเกิดอันตรายระหว่างการผลิตได้ง่าย ทำให้การผลิตลวดหนามด้วยมือยังผลิตได้น้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของชุมชน การพัฒนาเครื่องผลิตลวดหนามแบบอัตโนมัติให้เหมาะสมกับชุมชนจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยให้การผลิตลวดหนามทำได้รวดเร็วขึ้น และลดการใช้แรงงานคนลง
ลักษณะของเครื่อง
เครื่องจักรจะทำการประกอบหนามและม้วนลวดหนามที่ผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ชุดป้อนแกนลวด, ชุดประกอบหนาม, ชุดใบมีดตัดหนาม, ชุดลดความตึงของแกนลวด, ชุดกว้านพันแกนลวด, ชุดเรียงลวดหนามและชุดม้วนลวดหนาม โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าชนิด 3 เฟต ขนาด 3 แรงม้า เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนชุดกว้านลวด และ ขนาด 1 แรงม้า เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนชุดประกอบหนาม
กำลังการผลิตของเครื่อง
- อัตราการผลิตลวดหนาม เฉลี่ยเท่ากับ 4.23 เมตรต่อนาที
ขนาดและน้ำหนักของเครื่อง
- 120 X 120 X 100 เซนติเมตร, น้ำหนักเครื่อง 350 กิโลกรัม
ราคาเครื่องเชิงพาณิชย์
เครื่องละ 250,000 บาท
หัวหน้าโครงการ
นายไพรทูล ไชยวงศา
คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
199 หมู่ที่ 3 ถนนพังโคน-วาริชภูมิ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 47160